ป้องกันไวรัส Cryptolocker ก่อนที่จะสายเกินไป

Cryptolocker

ไวรัส Cryptolocker เคยระบาดและสร้างปัญหาอย่างหนักมาแล้วเมื่อปี 2013 ตอนนี้ไวรัส Cryptolocker ได้กลับมาอีกครั้งและกำลังระบาดมากยิ่งขึ้น

Cryptolocker จัดได้ว่าเป็น Trojan ชนิดนึงที่เรียกว่า Ransomware Trojan ส่วนใหญ่จะมากับ Email ที่แนบ file มาด้วย

ผลกระทบที่ Cryptolocker กระทำ คือ ไวรัสจะทำการเข้ารหัส file งานใน folder ซึ่งเราจะไม่สามารถเปิด file ได้เลยเพราะติดรหัส  ซึ่งถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่า ค่าย Anti Virus ดังๆ ที่ให้บริการก็จะมี Removal  เปิดให้ download เพื่อถอดรหัสที่ติดไว้ แต่ถ้า เวอร์ชั่นใหม่ๆ อันนี้ลำบากแล้วครับ

วันนี้ จุก เลยนำเสนอวิธีการป้องกัน ก่อนที่จะติดไวรัส Cryptolocker กันครับ

1. ใช้ Windows ลิขสิทธิ์ครับ เพื่อที่เราจะสามารถอัพเดทแพทใหม่ๆ ได้ เพราะบริษัท Microsoft จะทำการอัพเดทแพทใหม่ๆ เพื่อที่จะอุดรูรั่วที่ตรวจพบเจอหรือบักต่างๆ ซึ่งนำมาถึงการโจมตีของไวรัสหรือ Malware ได้

2. ติดตั้ง Anti Virus ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น Sophos, Norton, McAfee เป็นต้น หลักจากติดตั้งแล้วต้องอัพเดทสม่ำเสมอเพื่อที่จะป้องกันไวรัสใหม่ๆ ที่ตรวจพบเจอในโลกอินเตอร์เน็ต

3. อย่าเปิดไฟล์ที่แนบมาถ้าเราไม่รู้จักผู้ส่งหรือแหล่งที่มา โดยเด็ดขาด

4. ก่อนเปิดไฟล์ที่แนบมาทุกครั้งให้ทำการแสกนด้วยโปรแกรม anti virus ทุกครั้ง

5. ให้ทำการแบ๊คอัพข้อมูลลง Flash Drive หรือ External HDD เป็นประจำ ห้ามแบ๊คอัพโดยการก๊อบปี้ไว้ Partition อื่นหรือ HDD ที่ Connected อยู่กับเครื่องที่ใช้งาน

6. ใช้บริการ Could Service ในการแบ๊คอัพข้อมูลก็ได้ครับ เดี๋ยวนี้มีให้ใช้ฟรีๆ เยอะแยะ หลายเจ้าเลย เช่น Google Drive, One drive, Drop box เป็นต้น

Cyptolocker

7. ถ้าเป็นหน่วยงานหรือองค์กร ให้ทำการ monitor ดูความเคลื่อนไหวต่างๆ ภาพในระบบ เช่น โปรโตคอลต่างๆ มีการ Connect ไปที่ไหน port อะไร เพื่อดูการเคลื่อนไหวระบบ Network และ Traffic ภายในองค์กร

8.  Port ไหนที่ไม่ได้ใช้งาน ให้บล๊อคเอาไว้ครับ

9. ให้ความรู้และความเข้าใจด้านไอทีกับพนักงานทุกๆคน อย่างสม่ำเสมอ สอนให้พวกเขาได้รู้ถึงภัยของไวรัสและ Malware และวิธีป้องกันเบื้องต้น

10. ถ้า Anti Virus ตรวจสอบพบว่าเครื่อง Client ติดไวรัสแล้ว ให้ทำการตัด Connection หรือถอดสายแลน ออกก่อนเพื่อไม่ให้ระบาดไปยังเครื่องอื่นๆ

11. ให้ทำการแก้ไข กำจัดไวรัสเครื่องที่ติดไวรัสให้เรียบร้อยก่อนที่จะเสียบสายแลนกลับไปใช้งานสู่สภาวะปกติ อย่าลืมอัพเดท Anti Virus ให้เรียบร้อยก่อนนะครับ

12. เครื่องที่ติดไวรัส ให้เปลี่ยนรหัสด้วยทั้ง local และ Network

13. ให้ทำการบล๊อค .exe และ .zip ไม่ให้ user สามารถรับอีเมลที่แนบไฟล์พวกนี้ได้ เพื่อป้องกันติดไวรัสหรือ Malware

 

ถ้าพี่ๆ ทุกคนทำตาม 13 ขั้นตอนนี้ รับประกันได้ว่า องค์กรของพี่ๆ ไม่ติดไวรัสจาก Cyptolocker แน่นอนครับ

ที่มารูปภาพจาก : http://cict.mnre.go.th

เรื่องอื่นที่คุณอาจสนใจ

Comments

comments